นอร์เวย์ในปัจจุบัน

Lærerinnhold

Tips til undervisningen

Bruk det interaktive kartet til å snakke om hvilke land som er medlemmer av EU/EØS.

Utforskning

Snakk sammen

Trekk paralleller til deltakernes hjemland.

Norges distriktspolitikk har som målsetting at folk skal ha samme levekår uansett hvor i landet de bor. Samtidig ser vi at det er en fordel for ressursutnytting og effektivitet at folk bor tettere sammen. Kommunesammenslåinger er et eksempel på dette.

Stikkord til arbeiderbevegelsens og kvinnebevegelsens betydning: lover og regler som beskytter enkeltindividet, menneskers selvstendighet, muligheten til å leve i økonomisk trygghet, endringer i familiestruktur og familieliv

Norge er er ikke medlem av EU, men vi er medlem av EØS. Dette betyr i praksis at vi er en del av EU-systemet når det gjelder mange EU-lover og -avtaler.
Det er fremdeles en debatt i Norge om vi bør gå inn i EU og om vi bør trekke oss ut av EØS-samarbeidet. Ved to folkeavstemninger (1972 og 1994) stemte et knapt flertall av det norske folk nei til medlemsskap i EU.

Tips til undervisninga

Bruk det interaktive kartet til å snakke om kva for land som er medlemar av EU/EØS.

Utforsking

Snakk saman

Dra parallellar til deltakarane sine heimland.

Distriktspolitikken i Noreg har som målsetjing at folk skal ha dei same levekåra uansett kvar i landet dei bur. Samstundes ser vi at det er ein fordel for ressursutnytting og effektivitet om folk bur tettare saman. Kommunesamanslåingar er eit døme på dette.

Stikkord til arbeidarrørsla og kvinnerørsla og kva desse rørslene har hatt å seie: lover og reglar som vernar einskildindividet, menneske sitt sjølvstende, moglegheita til å leve i økonomisk tryggleik, endringar i familiestruktur og familieliv

Noreg er ikkje medlem av EU, men vi er medlem av EØS. I praksis tyder dette at mange lover og avtalar i EU-systemet òg gjeld for oss.
Det blir framleis debattert i Noreg om vi bør gå inn i EU og om vi bør trekkje oss ut av EØS-samarbeidet. Vi har hatt to folkerøystingar om EU-medlemskap (i 1972 og 1994), og begge gongane stemde eit knapt fleirtal av det norske folket nei.

Læreplan

Grunnleggende ferdigheter

Digitale ferdigheter
Muntlige ferdigheter

Tverrfaglige tema

Demokrati og medborgerskap

Læreplan i samfunnskunnskap for voksne innvandrere etter integreringsloven

gi eksempler på noen av de viktigste historiske hendelsene og prosessene som har dannet grunnlaget for framveksten av demokratiet i Norge  

Kjerneelement

Demokratiforståelse og deltakelse

Læringsaktivitet

Muntlig aktivitet

นอร์เวย์ในปัจจุบัน

Illustrasjonsfoto.
GettyImages

ในปัจจุบัน นอร์เวย์เป็นประเทศที่ทันสมัยและมีความหลากหลายของวัฒนธรรม นอร์เวย์มีมาตรฐานการครองชีพสูง และสังคมก็เต็มไปด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ นอร์เวย์ยังมีส่วนร่วมกับนานาชาติที่ส่งผลต่อนโยบายของนอร์เวย์ อย่างเช่น UN, NATO และ EEA

ถ้าเราสอบถามใครสักคนว่าค่านิยมอะไรมีความสำคัญต่อสังคมนอร์เวย์ในปัจจุบัน พวกเขาก็อาจจะตอบว่าค่านิยมที่สำคัญที่สุดได้แก่ความเสมอภาคและเสรีภาพที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับชีวิตของตัวเอง

เช่นเดียวกับเกือบทุกประเทศและสังคม นอร์เวย์มีกฎหมายมากมาย กฎหมายเหล่านี้ยึดหลักความเสมอภาคระหว่างบุคคลเป็นสำคัญ และให้สิทธิ์หลายอย่างแก่บุคคล เราจะมาดูปัจจัยสองสามอย่างต่อไปนี้ที่ได้ช่วยพัฒนานอร์เวย์ให้กลายเป็นสังคมที่เรารู้จักในปัจจุบัน การเรียกร้องทางการเมืองครั้งใหญ่นั้นเป็นเครื่องมือของการพัฒนานอร์เวย์ในปัจจุบัน การเรียกร้องสิทธิแรงงานและสิทธิสตรีก็มีความสำคัญมากเช่นกัน

การเรียกร้องสิทธิแรงงาน

folkemengde og faner på Youngstorget 1. mai. Foto
NTB/Fredrik Hagen

รากฐานของการเรียกร้องสิทธิแรงงานของชาวนอร์เวย์นั้นมีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 แต่ก็มีความเป็นระบบมากขึ้นเมื่อจำนวนงานในอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นตั้งแต่ทศวรรษที่ 1880 เป็นต้นไป การเรียกร้องนี้มีอิทธิพลมากขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ความพยายามเรียกร้องสิทธิแรงงานทำให้สภาพการทำงานดีขึ้น เช่น ชั่วโมงทำงานสั้นลง ความปลอดภัยในที่ทำงานเพิ่มขึ้น ประกันสุขภาพ และสิทธิในการรับความช่วยเหลือทางการเงินสำหรับคนว่างงาน ปัจจุบันราวครึ่งหนึ่งของลูกจ้างจะเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน

การเรียกร้องสิทธิสตรี

การเรียกร้องสิทธิสตรีได้ต่อสู้เพื่อสิทธิของผู้หญิงในสังคมและโอกาสที่เท่าเทียมกันระหว่างชายและหญิง การเรียกร้องสิทธิสตรีเริ่มต้นขึ้นในนอร์เวย์ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1880 และสตรีในนอร์เวย์ก็มีสิทธิ์เลือกตั้งก่อนใครตั้งแต่ปี 1913

ความพยายามเรียกร้องสิทธิสตรีเริ่มมีความจริงจังขึ้นในทศวรรษที่ 1970 กฎหมายเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ (กฎหมายการทำแท้ง) ได้รับการอนุมัติในปี 1978 นอกจากเรื่องอื่นๆแล้ว กฎหมายนี้ให้สิทธิ์แก่ผู้หญิงที่จะทำแท้งถ้าอายุครรภ์ยังไม่เกิน 13 สัปดาห์ สิทธิ์ในการหย่าร้าง การคุมกำเนิด การเลือกทำแท้ง และสิทธิ์ของผู้หญิงในการตัดสินใจเกี่ยวกับร่างกายตนเองนั้นเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการเรียกร้องสิทธิสตรี

Tog 8. mars med paroler. Foto
NTB/Lise Åserud

ในปัจจุบัน ชายและหญิงมีสิทธิ์เท่ากันในด้านการศึกษาและการทำงาน ทรัพย์สินและการรับมรดก การดูแลสุขภาพ และสุขภาพที่ดี เพศของบุคคลไม่ใช่สิ่งที่กำหนดสิทธิและโอกาสของชายและหญิงอีกแล้ว แต่บางคนก็บอกว่าเรายังต้องก้าวไปข้างหน้าอีกกว่าจะได้รับความเสมอภาคอย่างเต็มที่ในบางด้าน

น้ำมัน

En oljerigg i havet. Foto.
GettyImages

ในทศวรรษที่ 1960 นั้น หลายบริษัทต้องการค้นหาน้ำมันและก๊าซนอกชายฝั่งนอร์เวย์ มีการค้นพบน้ำมันหลุมแรกในทะเลเหนือเมื่อปี 1967 และนอร์เวย์ก็พัฒนาไปเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันนับตั้งแต่นั้น อุตสาหกรรมน้ำมันมีความสำคัญมากต่อเศรษฐกิจของนอร์เวย์ เช่นเดียวกับไฟฟ้าพลังน้ำเมื่อ 50 ปีที่แล้ว ทรัพยากรน้ำมันยังคงเป็นสาธารณสมบัติ บริษัทเอกชนสามารถซื้อสิทธิ์ในการสำรวจ ขุดเจาะ และผลิตน้ำมันได้ในบริเวณที่กำหนดเป็นเวลาจำกัด ปัจจุบันนี้อุตสาหกรรมน้ำมันเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกันในสังคมนอร์เวย์ ผู้คนมีความเห็นไม่ตรงกันเกี่ยวกับผลกระทบของอุตสาหกรรมนี้ที่มีต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

อภิปรายร่วมกัน

  • ก่อนปี 1850 ร้อยละ 15 ของประชากรอาศัยอยู่ในตัวเมืองและนครใหญ่ รวมปี 1900 ร้อยละ 35 ของประชากรอาศัยอยู่ในตัวเมืองและนครใหญ่ ปัจจุบันราวร้อยละ 80 ของประชากรนอร์เวย์อาศัยอยู่ในตัวเมืองและนครใหญ่ แนวโน้มแบบนี้เป็นเหมือนกับประเทศที่ท่านรู้จักหรือไม่?
  • อภิปรายข้อดีข้อเสียของการที่ประชาชนย้ายถิ่นฐานจากชนบทเข้าสู่ตัวเมือง
  • อภิปรายเกี่ยวกับความสำคัญของการเรียกร้องสิทธิแรงงานที่มีต่อการพัฒนาประเทศนอร์เวย์ในปัจจุบัน มีการพัฒนาแบบเดียวกันนี้ในประเทศที่ท่านรู้จักหรือไม่?
  • อภิปรายเกี่ยวกับความสำคัญของการเรียกร้องสิทธิสตรีที่มีต่อการพัฒนาประเทศนอร์เวย์ในปัจจุบัน มีการพัฒนาแบบเดียวกันนี้ในประเทศที่ท่านรู้จักหรือไม่?
  • อภิปรายเกี่ยวกับสิทธิสตรีในนอร์เวย์และสถานที่อื่นของโลกทั้งในอดีตและปัจจุบัน
  • การที่นอร์เวย์ไม่เป็นสมาชิกของ EU ส่งผลกระทบใดต่อประเทศหรือไม่?
  • การค้นพบน้ำมันและก๊าซในทะเลเหนือเมื่อปลายทศวรรษที่ 1960 ทำให้นอร์เวย์กลายเป็นประเทศที่ร่ำรวย อย่างไรก็ตาม สิทธิ์ในการศึกษาฟรี การดูแลสุขภาพฟรีหรือได้รับการอุดหนุน ชั่วโมงทำงานที่สั้นกว่า การประกันสุขภาพ ฯลฯ มีขึ้นก่อนที่จะมีการค้นพบน้ำมันเสียอีก ให้อภิปรายเกี่ยวกับค่านิยมที่เป็นพื้นฐานของสิทธิ์เหล่านี้
Kvinner i demonstrasjonstog. Foto.
GettyImages

เลือกคำตอบที่ถูกต้อง

ปัจจุบันมีแรงงานนอร์เวย์สัดส่วนเท่าใดที่เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน?

เลือกคำตอบที่ถูกต้อง

พบน้ำมันในทะเลเหนือเมื่อใด?

เลือกคำตอบที่ถูกต้อง

กฎหมายการทำแท้งปี 1978 ให้สิทธิ์อะไร?

เลือกข้อถูกหรือผิด

อ่านข้อความต่อไปนี้ ข้อใดถูกต้อง? ข้อใดผิด?

ปัจจุบันนอร์เวย์เป็นประเทศที่ทันสมัยและมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม และมีมาตรฐานการครองชีพสูง
กฎหมายนอร์เวย์ยึดหลักของความเสมอภาคของคนเป็นหลักสำคัญ
การเรียกร้องสิทธิแรงงานมีความเป็นระบบมากขึ้นเมื่อมีงานอุตสาหกรรมเกิดมากขึ้น
การเรียกร้องสิทธิแรงงานคือการต่อสู้เพื่อสิทธิ์ของนายจ้าง
การเรียกร้องสิทธิแรงงานต่อสู้เรียกร้องวันทำงานที่ยาวขึ้น เพื่อให้ได้ค่าจ้างมากขึ้น

เลือกข้อถูกหรือผิด

อ่านข้อความต่อไปนี้ ข้อใดถูกต้อง? ข้อใดผิด?

ในทศวรรษที่ 1950 การเรียกร้องสิทธิสตรีเริ่มต้นขึ้น
เรื่องสำคัญสำหรับการเรียกร้องสิทธิสตรีได้แก่สิทธิ์ในการหย่าร้าง คุมกำเนิด และการทำแท้งโดยเจตนา
ปัจจุบันหญิงและชายมีสิทธิเท่าเทียมกันในด้านการศึกษาและมรดก
เกือบทุกคนมีความเห็นตรงกันเรื่องอุตสาหกรรมน้ำมันและวิธีการดำเนินกิจการนี้
น้ำมันส่งผลกระทบสำคัญต่อเศรษฐกิจของนอร์เวย์