ประชาธิปไตยในนอร์เวย์

Lærerinnhold

Tips til undervisningen

Utforsk den interaktive illustrasjonen av maktfordelingsprinsippet.

Se filmen

Videoen består av 14 klipp. Det første klippet viser et digitalt kart over Norge, før vi ser slottet og Stortinget. Deretter vises et klipp fra en juridisk avtale som inngås, og vi ser et klipp med flagg fra forskjellige nasjoner i verden, før vi ser et nytt klipp av Stortinget. De neste åtte klippene viser eksempler på velferdsstaten og hva politikerne jobber for: skoler, sykehus, vannkraft og veier.

Forslag til spørsmål

Hva mener du Norge burde bruke mer penger på? Hva mener du Norge burde bruke mindre penger på?
Hva er positivt med at skoler og sykehus er gratis? Finnes det noe negativt?
Hvem burde bestemme hva man lærer om på skolen? Hva bør de som bestemmer tenke på?

Snakk sammen

Folket velger politikere som bestemmer ting som igjen påvirker hverdagen til folket. Hvilke partier flertallet stemmer på, får betydning for politikken i Norge og dermed folks hverdag.

Vi er alle med på å påvirke små og store saker både lokalt og nasjonalt gjennom stemmene våre. Alt er politikk: barnehagepriser, ordninger hos Nav, skatter og avgifter osv.

Tips til undervisninga

Utforsk den interaktive illustrasjonen av maktfordelingsprinsippet.

Sjå filmen

Videoen er sett saman av 14 klipp. Det første klippet viser eit digitalt kart over Noreg, før vi ser Slottet og Stortinget. Deretter ser vi inngåing av ein juridisk avtale og flagg frå forskjellige nasjonar i verda, før vi ser eit nytt klipp av Stortinget. Dei neste åtte klippa viser døme på velferdsstaten og kva politikarane jobbar for: skular, sjukehus, vasskraft og vegar.

Framlegg til spørsmål

Kva meiner du Noreg burde bruke meir pengar på? Kva meiner du Noreg burde bruke mindre pengar på?
Kva er positivt med at skular og sjukehus er gratis? Finst det noko negativt?
Kven burde bestemme kva ein lærer om på skulen? Kva bør dei som bestemmer tenkje på?

Snakk saman

Folket vel politikarar som avgjer ulike ting, og desse avgjerdene påverkar så kvardagen til folket. Kva for parti fleirtalet stemmer på, har mykje å seie for politikken i Noreg og såleis for folk sin kvardag.

Vi er alle med på å påverke store og små saker, både på det lokale og det nasjonale nivået, gjennom stemmene våre. Alt er politikk: barnehageprisar, ordningane til Nav, skattar og avgifter osv.

Læreplan

Grunnleggende ferdigheter

Digitale ferdigheter
Muntlige ferdigheter

Tverrfaglige tema

Demokrati og medborgerskap

Læreplan i samfunnskunnskap for voksne innvandrere etter integreringsloven

gi eksempler på hvordan demokratiet i Norge fungerer, knyttet til de tre statsmaktene og prinsippet om maktfordeling, politiske partier og valgordningen

Kjerneelement

Demokratiforståelse og deltakelse

Læringsaktivitet

Muntlig aktivitet
Utforsking
Video

ดูวิดีโอ

ประชาธิปไตยในนอร์เวย์

Oslo sett i fugleperspektiv. Bildet er tatt fra luften over vannet ved Oslo Rådhus. På bildet kan vi se tusenvis av tusenvis av boliger og bygg i Oslo. Foto
GettyImages

รัฐบาลกลาง, เขตและเทศบาล

  • นอร์เวย์มี 15 เขต (เคาน์ตี้) และ 356 เขตเทศบาล (1.1.2024)
  • เขตและเทศบาลเป็นทั้งพื้นที่ทางภูมิศาสตร์และหน่วยการปกครองที่อยู่ใต้การควบคุมทางการเมือง
  • ทั้งเขตและเทศบาลมีอำนาจปกครองตนเองในหลายด้าน แต่รัฐบาลกลางก็ยังมีอำนาจตัดสินใจหลายอย่าง
  • รัฐบาลกลางจะกำหนดกรอบให้กับเขตและเทศบาล
  • รัฐบาลกลางปกครองประเทศทั้งประเทศ ส่วนหน่วยงานบริหารเขตและเทศบาลจะตัดสินใจเรื่องภายในท้องถิ่นเท่านั้น

ตัวอย่างพื้นที่รับผิดชอบของรัฐบาลกลางมีดังนี้:

  • นโยบายต่างประเทศ
  • โรงพยาบาล
  • นิติบัญญัติ
  • หลักสูตรโรงเรียน

ตัวอย่างพื้นที่รับผิดชอบของเขตมีดังนี้:

  • การศึกษาระดับมัธยมปลาย
  • ถนนในเขต
En sykehuskorridor. En mann i sykepleieruniform går med ryggen mot kameraet. Han triller en tom sykehusseng. To personer i sykepleieruniform går mot kamera og snakker sammen. Foto
En bil i fart kjører på en vei. Langs veien er det autovern. I bakgrunnen kan vi se natur og et vann. Foto
GettyImages

ตัวอย่างพื้นที่รับผิดชอบของเทศบาลมีดังนี้:

  • โรงเรียนประถมและมัธยมต้น
  • โรงเรียนอนุบาล
  • การดูแลผู้สูงอายุ
  • การเก็บขยะ ประปา และน้ำเสีย
  • ถนนในเทศบาล
Elever i klasserom som rekker opp hånda. Foto
Hjemmehjelper og eldre kvinne. Foto
GettyImages

การควบคุมทางการเมืองและการปกครอง

รัฐบาลกลาง เขต และเทศบาลจะปกครองโดยนักการเมืองที่ประชาชนเลือกเข้ามา นั่นก็หมายความว่า นักการเมืองจะหารือเรื่องต่างๆและตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายในหลายด้าน อย่างไรก็ตาม เป็นหน้าที่ของข้าราชการฝ่ายปกครองของรัฐ - นั่นก็คือ เจ้าหน้าที่รัฐ เขต และเทศบาล - ที่จะปฏิบัตินโยบายดังกล่าว

ตัวอย่างเช่น:

  • นักการเมืองให้การรับรองหลักสูตรของโรงเรียน ครูจะสอนตามหลักสูตรดังกล่าว
  • นักการเมืองให้การรับรองกฎการจ่ายเงินสิทธิประโยชน์ประกันสังคม พนักงานของ NAV ต้องปฏิบัติตามกฎดังกล่าว

รัฐสภา

รัฐสภาของนอร์เวย์มีชื่อว่า Storting มีสมาชิก 169 คนที่เลือกเข้ามาโดยประชาชน มีวาระการดำรงตำแหน่งคือสี่ปี สมาชิกรัฐสภาเป็นตัวแทนของพรรคการเมืองต่างๆ รัฐสภาเป็นหน่วยงานสูงสุดของรัฐบาลนอร์เวย์

หน้าที่สำคัญสูงสุดของรัฐสภาคือ:

  • ออกกฎหมายใหม่และแก้ไขกฎหมายเก่า
  • กำหนดงบประมาณของประเทศ
  • กำกับดูแลรัฐบาลและการปกครองของรัฐบาลกลาง
  • อภิปรายประเด็นทางการเมืองและโครงการสำคัญต่างๆ

นอร์เวย์ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยแบบเปิด ทุกคนที่ต้องการจะสามารถเดินทางมาที่รัฐสภาและฟังนักการเมืองอภิปรายประเด็นต่างๆได้ อย่างไรก็ตาม ประชาชนไม่มีสิทธิ์พูดหรือกล่าวถ้อยคำใดเกี่ยวกับเรื่องต่างๆในรัฐสภา มีหลายเรื่องที่ถูกแจกจ่ายไปเพื่อขอคำปรึกษา ทำให้ผู้เชี่ยวชาญและคนธรรมดามีโอกาสแสดงความคิดเห็นได้

Bilde av Stortinget. Bygget består av et stort, rundt bygg med fløyer på begge sider. Foran ligger en åpen plass som heter Eidsvolls plass. Foto
GettyImages รัฐสภา
Stortingssalen med representantene. Foto.
Morten Brakestad/Stortinget

รัฐบาล

หลังจากการเลือกตั้งทั่วไป หนึ่งหรือหลายพรรคการเมืองจะตั้งรัฐบาลใหม่ รัฐบาลประกอบด้วยรัฐมนตรี (หัวหน้าทางการเมืองของแต่ละกระทรวง) และนายกรัฐมนตรี หน้าที่หนึ่งของรัฐบาลก็คือการเสนอกฎหมายใหม่และแก้ไขกฎหมายเก่า แต่จะเป็นหน้าที่ของรัฐสภาที่จะให้การรับรองกฎหมายและการแก้ไขทางนิติบัญญัติเหล่านั้น รัฐบาลมีหน้าที่ตรวจสอบว่าการตัดสินใจโดยรัฐสภาถูกนำไปปฏิบัติแล้ว นอกจากนี้รัฐบาลยังมีหน้าที่เสนองบของประเทศสำหรับทุกปีอีกด้วย

การประชุมสภาแห่งรัฐ

kongen, kronprinsen og regjeringen i statsråd. Foto
Håkon Mosvold Larsen/NTB

รัฐบาลจะประชุมกับพระราชาทุกวันศุกร์ ในการประชุมนี้ รัฐมนตรีจะแจ้งให้พระราชาทราบประเด็นทางการเมืองต่างๆ การประชุมนี้มีชื่อว่า "การประชุมสภาแห่งรัฐ" พระราชาไม่มีอำนาจทางการเมืองมากนัก แต่การประชุมนี้ก็มีความสำคัญ

หลักการแบ่งแยกอำนาจ

การแบ่งแยกอำนาจหมายถึงอำนาจจะถูกแบ่งระหว่างทั้งหน่วยงานอิสระทั้งสามฝ่ายของรัฐบาล

  • ฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา) จะรับรองกฎหมาย
  • ฝ่ายบริหาร (รัฐบาล) เสนอกฎหมายและตรวจสอบว่ามีการนำไปปฏิบัติแล้ว
  • ฝ่ายตุลาการ (ศาลยุติธรรม) ออกคำตัดสินคดีความของศาล อย่างสอดคล้องกับกฎหมายที่รัฐสภารับรอง

เมื่ออำนาจถูกแบ่งระหว่างสามฝ่ายของรัฐบาลแล้ว แต่ละฝ่ายก็จะไม่มีอำนาจมากเกินไป ดังนั้นจึงสร้างความมั่นคงให้แก่ระบอบประชาธิปไตย

อภิปรายร่วมกัน

  • อภิปรายเกี่ยวกับองค์กรปกครองของประเทศที่ท่านรู้จัก
  • อภิปรายการแบ่งแยกอำนาจในนอร์เวย์
  • อภิปรายหน้าที่ของรัฐบาลกลาง เขต และเทศบาลที่มีต่อสังคมสวัสดิการ
  • ท่านจะส่งเปลี่ยนแปลงสังคมที่ท่านอาศัยอยู่ได้อย่างไร?
  • ท่านคิดว่าง่ายกว่าหรือไม่ถ้าจะเปลี่ยนในระดับท้องถิ่น แทนที่จะเป็นระดับประเทศ? เพราะเหตุใด?
Folk som demonstrerer og roper slagord. Foto.
GettyImages

เลือกคำตอบที่ถูกต้อง

ข้อใดเป็นความรับผิดชอบหลักของรัฐบาลกลาง?

เลือกคำตอบที่ถูกต้อง

รัฐสภานอร์เวย์มีชื่อว่าอะไร?

เลือกคำตอบที่ถูกต้อง

รัฐมนตรีคืออะไร?

เลือกข้อถูกหรือผิด

อ่านข้อความต่อไปนี้ ข้อใดถูกต้อง? ข้อใดผิด?

ใครก็ตามที่ต้องการ จะสามารถเดินทางมายังรัฐสภาและเข้าฟังนักการเมืองอภิปรายประเด็นต่างๆได้
รัฐสภาทำหน้าที่พิพากษาคดีในศาลและมีอำนาจตุลาการ
หลักการแบ่งแยกอำนาจหมายความว่าอำนาจจะถูกแบ่งระหว่างหน่วยงานอิสระสามฝ่าย เพื่อไม่ให้มีฝ่ายใดได้อำนาจมากเกินไป
รัฐบาลจะประชุมกับพระราชาทุกวันศุกร์
พระราชาเป็นผู้เสนองบประมาณของประเทศทุกปี

เลือกข้อถูกหรือผิด

อ่านข้อความต่อไปนี้ ข้อใดถูกต้อง? ข้อใดผิด?

การรับรองงบประมาณของประเทศเป็นหน้าที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของรัฐสภา
รัฐสภามีผู้แทน 169 คนที่จะดำรงตำแหน่งรอบละแปดปี
รัฐบาลกลาง เขต และเทศบาลจะปกครองโดยนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง
นอร์เวย์มี 16 เขต (เคาน์ตี้)
เขตและเทศบาลเป็นทั้งพื้นที่ทางภูมิศาสตร์และหน่วยบริหารภายใต้การควบคุมทางการเมือง