โซเชียลมีเดียและการตัดสินใจทางดิจิตอล
ดูวิดีโอ
โซเชียลมีเดียและการตัดสินใจทางดิจิตอล
ปัจจุบันเกือบทุกคนใช้งานอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียอย่างจริงจัง เราล็อกอินเข้าธนาคารอินเทอร์เน็ตของเราหรือแวะใช้บริการออนไลน์ของรัฐ และเราก็ซื้อสินค้าออนไลน์ เรายืนยันตัวตนของเราด้วย BankID, รหัสผ่าน ลายนิ้วมือ หรือการตรวจจับใบหน้า
โซเชียลมีเดียได้แก่ Facebook, Twitter และ Instagram เราแชร์ความคิดเห็น ภาพถ่าย และวิดีโอของเราบนสื่อเหล่านี้ โซเชียลมีเดียทำให้เราสามารถติดต่อกับครอบครัว เพื่อน และคนรู้จักได้ เราทิ้งร่องรอยดิจิตอลไว้หลายรอยในแต่ละวัน และร่องรอยทุกรอยก็ถูกเก็บรักษาไว้ ท่านเคยคิดหรือไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าร่องรอยเหล่านี้ถูกเก็บได้โดยผู้ที่มีเจตนาร้าย? จะเกิดอะไรขึ้นถ้ามีคนได้รหัสผ่านของท่านไป? จะเกิดอะไรขึ้นถ้ามีคนเผยแพร่ภาพถ่ายส่วนตัวของท่าน?
เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องทราบว่าท่านแชร์อะไรไปบ้าง ท่านให้ข้อมูลใครไปบ้าง และข้อมูลเหล่านั้นถูกนำไปใช้เพื่ออะไร ตัวอย่างเช่น ภาพถ่ายส่วนตัว เช่น ภาพของเด็ก นั้นอาจถูก 'ขโมย' ไปโดยคนที่จะนำเอาไปใช้ในทางที่ไม่ดีก็ได้ นอกจากนี้เราต้องระวังในสิ่งที่เราแชร์เกี่ยวกับผู้อื่น ท่านควรขออนุญาตก่อนทุกครั้ง
- การปกป้องข้อมูลเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิ์ในความเป็นส่วนตัวและการตัดสินใจเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวของท่านเอง ตัวอย่างข้อมูลส่วนตัวได้แก่ ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ เลขบัตรประชาชน และถิ่นกำเนิดทางเชื้อชาติ
- ทุกคนมีคุณค่าในตัวเอง ดังนั้นบุคคลจึงมีสิทธิ์ในพื้นที่ส่วนตัวที่ควบคุมด้วยตัวเอง และเป็นสถานที่ที่พวกเขาสามารถกระทำการได้อย่างอิสระโดยปราศจากอำนาจหรือการแทรกแซงจากรัฐหรือบุคคลอื่น หลักการนี้ถูกบรรจุไว้ในหลายสิ่ง ตัวอย่างเช่น สนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนของยุโรป (ECHR)
แหล่งที่มา: องค์กรปกป้องข้อมูลของนอร์เวย์
หลายคนแชร์ความคิดเห็นของตนบนโซเชียลมีเดียและส่วนที่เหลือของอินเทอร์เน็ต เราจะเขียน พูดคุย และถกเถียงเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ อิสรภาพทางคำพูดได้รับอิสระอย่างมากบนโซเชียลมีเดีย อย่างไรก็ตาม อิสรภาพทางคำพูดถูกจำกัดขอบเขตโดยกฎระเบียบการปกป้องข้อมูลและข้อกฎหมายบางข้อ เราไม่ได้รับอนุญาตให้เขียนข้อความที่เป็นการเหยียดเชื้อชาติหรือเป็นการเลือกปฏิบัติ แต่บางคนก็ข้ามขอบเขตเหล่านี้ไปอยู่ดี ดูเหมือนคนจะก้าวข้ามขอบเขตได้ง่ายกว่าเมื่อเป็นออนไลน์ เทียบกับการคุยกันแบบต่อหน้า มีการแสดงความคิดเห็นที่ก้าวร้าวและผิดกฎหมายมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้แสดงความเห็นได้รับอนุญาตให้ไม่เปิดเผยชื่อ การตัดสินใจทางดิจิตอลที่ดีก็คือการแสดงความเห็นออนไลน์ในลักษณะที่ท่านสามารถพูดกับคนอื่นแบบต่อหน้าได้เช่นกัน
อภิปรายร่วมกัน
- เวลาท่านค้นหาตัวท่านเองบนอินเทอร์เน็ต ท่านพบกี่ผลการค้นหา (Hit)?
- ให้อภิปรายว่าการตัดสินใจทางดิจิตอลหมายความว่าอย่างไร
- ให้พูดคุยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการปกป้องข้อมูลกับการตัดสินใจทางดิจิตอล
- ให้พูดคุยเกี่ยวกับความสำคัญของการตระหนักในสิ่งที่ท่านเผยแพร่บนโซเชียลมีเดีย
- ท่านคิดว่าการที่คนไม่เปิดเผยชื่อในช่องความคิดเห็นนั้นส่งผลอย่างไร?
เลือกคำตอบที่ถูกต้อง
ท่านควรขออนุญาตหรือไม่เวลาจะแชร์ภาพถ่ายของผู้อื่นบนโซเชียลมีเดีย?
เลือกคำตอบที่ถูกต้อง
สิ่งใดบ้างที่ห้ามเขียนลงบนอินเทอร์เน็ต?
เลือกคำตอบที่ถูกต้อง
แบบอย่างของการตัดสินใจออนไลน์ที่ดีคือข้อใด?
เลือกคำตอบที่ถูกต้อง
การปกป้องข้อมูลหมายถึงข้อใด?
เลือกข้อถูกหรือผิด
อ่านข้อความต่อไปนี้ ข้อใดถูกต้อง? ข้อใดผิด?