ความคิดเชิงวิพากษ์และความตระหนักทางจริยธรรม

Lærerinnhold

Tips til undervisningen

Snakk sammen

Det er viktig å snakke sammen om hvordan man kan vurdere hvor troverdig informasjon er. Vi blir alle bombardert med informasjon fra ulike kilder. Noen ganger får vi motstridende informasjon. Hvem skal man da stole på? Har avsender av informasjon en egen agenda? Skal man for eksempel stole på informasjon fra myndighetene eller fra venner om informasjonen er motstridende?

Hvordan blir det hvis barna lærer ikke å si i mot foreldrene hjemme og samtidig lærer i barnehagen eller på skolen å stille spørsmål og argumentere?

Tips til undervisninga

Snakk saman

Det er viktig å snakke saman om korleis ein kan vurdere kor truverdig informasjon er. Vi blir alle bombarderte med informasjon frå ulike kjelder. Nokre gonger får vi motstridande informasjon. Kven skal ein då lite på? Har avsendaren av informasjonen ein eigen agenda? Skal ein til dømes lite på informasjon frå styresmaktene eller frå vener dersom dei gjev motstridande informasjon?

Korleis blir det dersom barna heime lærer å ikkje seie imot foreldra og samstundes lærer i barnehagen eller på skulen å stille spørsmål og argumentere?

Læreplan

Grunnleggende ferdigheter

Digitale ferdigheter
Muntlige ferdigheter

Tverrfaglige tema

Demokrati og medborgerskap

Læreplan i samfunnskunnskap for voksne innvandrere etter integreringsloven

bruke kunnskap om personvern og opphavsrett, samt retten en selv og andre har til privatliv
samtale om betydningen av kritisk tenkning og etisk bevissthet, blant annet knyttet til digital dømmekraft

Kjerneelement

Perspektivmangfold og kritisk tenkning

Læringsaktivitet

Muntlig aktivitet

ความคิดเชิงวิพากษ์และความตระหนักทางจริยธรรม

Seks personer står ved siden av hverandre. De holder opp tankebobler og snakkebobler laget med papir i forskjellige farger. Bildet illustrerer at de har forskjellige meninger. Foto
GettyImages

ปัจจุบัน สังคมนอร์เวย์มุ่งเน้นที่จะให้ทุกคนมีความคิดเห็นเป็นของตนเอง โรงเรียนจะสอนให้เด็กมีความอยากรู้อยากเห็นและใช้ความรู้ที่ได้มาเพื่อการตัดสินใจที่ถูกต้องสำหรับพวกเขา เด็กจะเรียนรู้การใช้เหตุผล อภิปราย และมีความคิดสร้างสรรค์ การพูดตามคุณครูหรือตำรานั้นไม่เพียงพออีกต่อไป การจะพัฒนาความรู้ใหม่และความเข้าใจอย่างลึกซึ้งได้นั้น ท่านต้องตั้งคำถามและท้าทายความจริงที่มีอยู่เดิม ในขณะเดียวกันท่านก็ต้องเปิดกว้างรับความเป็นไปได้ที่ว่าความรู้และประสบการณ์ที่ท่านมีอยู่นั้นอาจจะไม่เพียงพอ

Et nærbilde av et forstørrelsesglass foran en PC-skjerm. Bildet illustrerer at man bør granske kildene sine. Foto
GettyImages

เราอาศัยอยู่ในสังคมของข้อมูล ไม่มีใครที่สามารถบรรจุข้อมูลทั้งหมดไว้ในหัวของตนได้ นั่นก็หมายความว่าเป็นเรื่องสำคัญที่เราจะต้องรู้ว่าเราจะค้นหาข้อมูลที่เราต้องการได้ที่ไหนและอย่างไร นอกจากเรื่องอื่นแล้ว เราต้องรู้วิธีการใช้อินเทอร์เน็ตและวิธีค้นหาข้อมูลจากหนังสือ ไม่ว่าใครก็เผยแพร่ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตได้ และข้อมูลบางอย่างที่เราเจอก็อาจจะไม่ถูกต้อง นี่คือสาเหตุที่เราต้องวิพากษ์วิจารณ์กับแหล่งที่มาของข้อมูล

การวิพากษ์วิจารณ์แหล่งที่มาหมายถึงการใช้ความคิดกับสิ่งที่เราอ่าน ผู้อ่านต้องถามคำถามเชิงวิพากษ์ต่อไปนี้กับตัวเอง เช่น:

  • ใครเขียนข้อความดังกล่าว?
  • ผู้เขียนข้อความดังกล่าวมีเป้าหมายซ่อนเร้นอะไรรึเปล่า?
  • ผู้เขียนต้องการได้อะไรจากการเขียนข้อความดังกล่าว?
  • ข้อมูลในข้อความดังกล่าวถูกต้องหรือไม่?
  • ข้อความดังกล่าวประกอบด้วยข้อเท็จจริงสำคัญครบถ้วนหรือไม่ หรือขาดข้อเท็จจริงบางอย่างไป?

ถ้าเราใช้ข้อความ ภาพ ดนตรี ฯลฯ ของบุคคลอื่นในผลงานของตัวเราเอง เราต้องระบุเสมอว่าใครเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของสื่อดังกล่าว

ความตระหนักทางจริยธรรมเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสมดุลระหว่างสิ่งที่ควรคำนึงหลายอย่าง เพื่อให้ท่านสามารถคิดเกี่ยวกับทางเลือกของท่านและตัดสินใจได้ดีกว่า ซึ่งจะทำให้ท่านสามารถทำสิ่งที่ถูกต้องสำหรับสังคม คนรอบข้าง และตัวท่านเองได้ง่ายกว่า

  • ความตระหนักทางจริยธรรม ซึ่งหมายถึงความสมดุลระหว่างสิ่งที่ควรคำนึงหลายอย่าง เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ที่รอบคอบและมีความรับผิดชอบ การสอนและการอบรมต้องพัฒนาความสามารถของนักเรียนให้ประเมินผลทางจริยธรรมและช่วยนักเรียนให้ตระหนักถึงประเด็นทางจริยธรรม
  • การคิดเชิงวิพากษ์และความตระหนักทางจริยธรรมนั้นเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นส่วนหนึ่งของความหมายของการเรียนรู้ในบริบทที่แตกต่างกันและดังนั้นจะช่วยนักเรียนให้พัฒนาการตัดสินใจที่ดีได้

แหล่งที่มา: กรมการศึกษา

อภิปรายร่วมกัน

  • การวิพากษ์วิจารณ์แหล่งที่มาหมายความว่าอย่างไร?
  • เป็นเรื่องสำคัญเพียงใดที่นักเรียนและคนอื่นจะต้องตั้งคำถามถึงสิ่งที่พวกเขาอ่านเจอบนอินเทอร์เน็ต?
  • โรงเรียนในนอร์เวย์ส่งเสริมให้นักเรียนใช้เหตุผลและมีความคิดเห็นเป็นของตนเอง ท่านมีความเห็นต่อเรื่องนี้อย่างไร? ทำไมถึงเป็นเช่นนี้? เรื่องนี้ส่งผลต่อการเลี้ยงดูเด็กและความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับพ่อแม่อย่างไร?

ครอบครัวขนาดสี่คนจำเป็นต้องใช้รถยนต์คันใหม่ รถยนต์คันนี้จะถูกใช้งานทั้งการเดินทางไกลและใกล้ มาร์ตินและมาเรียกำลังคิดว่าพวกเขาควรเลือกรถแบบไหนดี
1. รถขนาดใหญ่หกที่นั่งที่สามารถใช้งานได้ทั้งการเดินทางไกลและใกล้ รถยนต์คันนี้มีที่ว่างสำหรับปู่ย่าตายายและเป็นรถยนต์ดีเซล
2. รถไฟฟ้าขนาดสี่ที่นั่งที่เหมาะสำหรับการเดินทางระยะใกล้ของครอบครัว แต่จำเป็นต้องชาร์จไฟระหว่างทางเมื่อครอบครัวเดินทางไกล และไม่มีที่ว่างสำหรับปู่ย่าตายาย

มาร์ตินและมาเรียเป็นกังวลเรื่องสิ่งแวดล้อม และพวกเขาก็เป็นญาติใกล้ชิดที่สุดของปู่ย่าตายาย ประเด็นทางจริยธรรมใดที่ท่านคิดว่ามาร์ตินและมาเรียควรหารือกัน?

Mann og kvinne sitter med en pc og diskuterer. Foto
GettyImages

เลือกคำตอบที่ถูกต้อง

การวิพากวิจารณ์แหล่งที่มาคืออะไร?

เลือกคำตอบที่ถูกต้อง

ข้อใดเหมาะสำหรับสังคมนอร์เวย์?

เลือกคำตอบที่ถูกต้อง

ท่านควรคิดถึงสิ่งใดเวลาท่านอ่านสิ่งที่เจอบนอินเทอร์เน็ต? มีคำตอบที่ถูกหลายข้อ

เลือกข้อถูกหรือผิด

อ่านข้อความต่อไปนี้ ข้อใดถูกต้อง? ข้อใดผิด?

ข้อมูลที่พบบนอินเทอร์เน็ตเป็นข้อมูลที่แม่นยำ
ในนอร์เวย์ เป้าหมายก็คือการเห็นด้วย
ความตระหนักทางจริยธรรมเป็นเรื่องความสมดุลระหว่างสิ่งต่างๆที่ควรคำนึงถึง เพื่อที่ท่านจะได้ตัดสินใจและพิจารณาตัวเลือกต่างๆได้ดียิ่งขึ้น
การวิพากษ์วิจารณ์แหล่งที่มาคือการไม่เห็ฯด้วยกับสิ่งที่อ่าน
ความคิดเชิงวิพากษ์และความตระหนักทางจริยธรรมทำให้เราตัดสินใจได้ดีขึ้น

เลือกข้อถูกหรือผิด

อ่านข้อความต่อไปนี้ ข้อใดถูกต้อง? ข้อใดผิด?

เมื่ออ่านข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต เราควรถามคำถามเชิงวิพากษ์วิจารณ์กับตัวเอง
ที่โรงเรียน เด็กจะเรียนรู้ที่จะถกเถียงความคิดเห็นของตน
ในหลายบริบท ความคิดเชิงวิพากษ์และความตระหนักทางจริยธรรมเป็นทั้งสิ่งจำเป็นและส่วนหนึ่งของการเรียนรู้
บุคคลที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นที่สามารถเผยแพร่ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตได้
เพื่อการสร้างความรู้ใหม่และความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง เราต้องตั้งคำถามและอภิปรายเกี่ยวกับแนวความคิดเดิม